กีฬาแข่งรถจักรยานยนต์เริ่มขึ้นในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2513 การแข่งขันสมัยแรกๆ เป็นการแข่งขันเฉพาะกลุ่มยังไม่มีองค์กรควบคุมการแข่งขัน เริ่มกันที่รอบบริเวณพระที่นั่งอนันตสมาคม, สวนลุมพินี สนามจันทร์นครปฐม สถานตากอากาศบางปู เป็นต้น
เมื่อถนนสายมิตรภาพ สระบุรี-โคราช เปิดใช้ ได้มีกลุ่มผู้นิยมรถมอเตอร์ไซค์ยุโรป เช่น บีเอสเอ (BSA), เอเจเอส (AJS), นอร์ตัน(NORTON) และ กิเรล่า(GIRELA) มาพิสูจน์ความเร็วกัน ทั้งนี้การแข่งขันเดิมพันบนท้องถนนหลวงเป็นที่นิยมในหมู่สิงห์มอเตอร์ไซค์ ตราบจนถึงปัจจุบันที่เรียกว่า Midnight Racing (แข่งเถื่อน)
วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2498 ซึ่งเป็นวันกองทัพบก โดย พล.ต.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (ยศขณะนั้น) ได้จัดการแข่งขันรถจักรยานยนต์ขึ้น ณ สนามม้านางเลิ้ง
ต่อมาเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2499 ซึ่งเป็นวันกองทัพอากาศ พล.อ.ท.นักรบ บิณศรี (ยศขณะนั้น) เป็นผู้หนึ่งซึ่งอยู่ในคณะผู้จัดการแข่งขันที่สนามบินดอนเมือง ใช้กฎกติกา และมีการแทงพนันเช่นเดียวกับการแข่งม้า การแข่งขันรถจักรยานยนต์ที่สนามบินดอนเมือง จัดติดต่อกันมา 3 ปีซ้อน จนถึงพ.ศ.2501 ได้เกิดอุบัติเหตุครั้งใหญ่ คือ นายบุญเหลือง บัวหลวง ซึ่งขี่รถนอร์ตัน 500 ซี.ซี. มาด้วยความเร็วสูงได้สะดุดทางวิ่งรอยต่อพื้นซีเมนต์ มือหลุดออกจากแฮนด์ ทำให้รถเสียหลักพุ่งเข้าไปในกลุ่มคนที่รุกล้ำเชือกกั้นเข้ามาดู แม้ว่าจะไม่มีการเปิดเผยจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตในครั้งนั้น แต่เชื่อกันว่ามีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายราย แต่ผู้ขับขี่ปลอดภัย กองทัพอากาศ จึงงดจัดการแข่งขันตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
สำหรับสนามแข่งรถจักรยานยนต์ในต่างจังหวัดมีด้วยกันหลายแห่ง อาทิ สนามจันทบุรี โดยสนามแห่งนี้ใช้ถนนส่วนหนึ่งของตัวจังหวัดเป็นเส้นทางแข่งขัน และอาจจะนับได้ว่าเส้นทางซึ่งใช้แข่งขันนั้นตื่นเต้นที่สุดเท่าที่ประเทศไทยจัดการแข่งขันมา เพราะเป็นถนนลาดยาง ความยาวของแต่ละรอบประมาณ 3 กิโลเมตร มีทั้งโค้งซ้าย โค้งขวา โค้งหักศอกขึ้นเนิน และโค้งลงเนิน
นอกจากนั้นยังมีการจัดที่สนามจันทร์ นครปฐม สวนวัฒนาบางปู ซึ่งแต่ละครั้งมักมีผู้บาดเจ็บและล้มตายอยู่เสมอ
การแข่งขันในยุคแรกๆ จะจัดขึ้นพร้อมวันประเพณี เช่น วันขึ้นปีใหม่ ผู้ชมไม่ต้องซื้อบัตรผ่านประตู เพราะไม่สามารถทำรั้วกั้นได้ เพียงแต่ทางจังหวัดจัดทำธงกระดาษสีต่าง ๆ อันเล็ก ๆ ให้ตำรวจเดินขายธงละ 2 บาท ตามแต่ใครจะมีจิตศรัทธาช่วยเหลือ เพื่อเป็นรางวัลสำหรับนักแข่งรถ
สนามแข่งจันทบุรีเป็นสนามที่นักแข่งสนใจและต้องการไปพิสูจน์ความเร็วของรถกันมาก ดังนั้นเมื่อถึงกำหนดการแข่งขันจึงมีรถไปสมัครแข่งขันมากมาย และรถแข่งส่วนมากจะเป็นรถขนาดใหญ่ เช่น นอร์ตัน บีเอ็มดับบลิว ดูคาตี้ ยามาฮ่า ทีดี 1 เครื่องยนต์ 250 ซี.ซี. เป็นต้น นั่นคือ ปี พ.ศ.2498 – 2518 ของการแข่งขันรถจักรยานยนต์ ในสนามแข่งขันชั่วคราว เฉพาะกิจที่มีความสูญเสียมาโดยตลอด
จากปี พ.ศ. 2522 – 2528 เป็นช่วงของการใช้พื้นที่สนามบินต่างๆ เป็นสนามแข่งขันมอเตอร์ไซค์ทางเรียบเช่น สนามบิน จ.ลพบุรี, สนามบิน จ.ประจวบคีรีขันธ์,สนามบิน จ.สงขลา,สนามบิน อ.สัตหีบ และสนามบิน จ.อุดรธานี เป็นต้น
การแข่งโมโตครอสในประเทศไทย มีมาแล้ว ตั้งแต่ปี 2518 ระยะเริ่มแรก รถแข่งที่ใช้มีลักษณะเป็นรถจักรยานยนต์กึ่งวิบาก(Enduro) จนกระทั่งได้มีทหารอเมริกัน ซึ่งทำงานในฐานทัพสหรัฐ จ. อุดรธานี ชื่อ มิสเตอร์. เดนนิส ลาติเมอร์ ได้นำรถโมโตครอส และวิธีการขับขี่กระโดดเนินแบบโมโตครอส เข้ามาเผยแพร่ โดยนำรถมาซ่อมที่ร้านอนันท์บ้านห้วย (อนันท์ แซ่ตั้ง) และมีการแอบนำรถไปทดลองเครื่องโดยจอนร์ อิสราม อดิเรต แซ่ลิ้ม อรรณพ คำสมบัติ
ชมรมโมโตครอส โดยนายธงชัย วงษ์สวรรค์ และเพื่อน เริ่มจัดที่บางแสน และในปี 2523 ภายใต้การสนับสนุนขององค์กรส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (อสกท.) สมัย นายสมจิต สิงหเสนีย์ เป็นผู้อำนวยการได้เอื้อเฟื้อสถานที่บริเวณสนามยิงธนูปัจจุบัน เพื่อใช้ในการแข่งขันโมโตครอสครั้งแรกในกรุงเทพฯ
ปี 1975 ชมรมยาน โดย นายประจวบ ปานบำรุง จัดแข่งขันโมโตครอสขึ้น ตามภูมิภาคต่างๆ
ปี 1980 Castrol Motocross จัดขึ้นโดยกลุ่มงาน ธงชัยและเพื่อน มีเงื่อนไขในการจัด โดย มิสเตอร์ ไบรอัน จอห์น บอลดีวัน กรรมการผู้จัดการบริษัทคาสตรอล (ไทยแลนด์) จำกัด เพื่อชิงแชมประเทศไทย และส่งไปแข่งขันยังต่างประเทศ การจัดการแข่งขันต่อเนื่องถึง 19 ปี และการแข่งขันโมโตครอสยังคงจัดต่อเนื่อง จนถึงทุกวันนี้ ( FMSCT Thailand Motocross ) โดยมีผู้สนับสนุนที่แตกต่างกันแต่ละปี และแชมป์คนแรก คือ นายวัชระ ปัจจมูล ทีมยามาฮ่า ได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนไปแข่งโมโตครอส ณ เมืองอ๊อคแลนด์ ปี 1981 ประเทศนิวซีแลนด์ เป็นการเริ่มต้นศักราชการแข่งขันโมโตครอสของประเทศไทย
ในปี พ.ศ. 2528 ได้มีการระดมทุนสร้างสนามแข่งรถ พัทยาเซอร์กิต และต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น พีระ อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า พีระพงศ์ ภาณุเดช ซึ่งเป็นนักแข่งของไทยที่ประสบความสำเร็จกีฬาแข่งรถยนต์ สามารถคว้าชัยชนะระดับ “ดาราทอง” เทียบเท่ากับ (Formular One)
การแข่งรถจักรยานยนต์ โรดเรซซิ่ง ชิงแชมป์ประเทศไทย ใช้สนามพีระเซอร์กิตอยู่ประมาณถึงปี 2535 จึงหยุดการแข่งขัน
ปี 2529 นางสาวิตรี วงษ์สวรรค์ ลงทุนสร้างสามแข่งรถไทยแลนด์เซอร์กิต นครชัยศรี และ การแข่งขันรถจักรยานยนต์ ประเภทโรดเรซซิ่ง ได้ดำเนินการจัดแข่งขันที่สนามไทยแลนด์เซอร์กิต นครชัยศรี จ.นครปฐม ในรายการ เอล์ฟมิดเดย์ เรซซิ่ง ทุกวันพุธสุดท้ายของเดือน ช่อง 7 ถ่ายทอดสด เวลา เที่ยงวัน และรับช่วงการแข่งขัน โรด เรซซิ่ง ชิงแชมป์ประเทศไทย ต่อจากพีระเซอร์กิต จัดโดย นายเอกชัย นพจินดา ปี 2535 ณ สนามแข่งรถไทยแลนด์เซอร์กิต
ปี 2530 (1987) ประเทศไทยได้เป็นสมาชิกองค์กรมอเตอร์ไซค์โลก Federation International Motorcyclist (FIM) ในนาม Federation of Motor Sports Clubs of Thailand (FMSCT) ในการลงมติของสมาชิก FIM Congress ณ กรุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2531 โดย นายธงชัย วงษ์สวรรค์ เป็นผู้ดำเนินการในฐานะประธาน FMSCT เข้าร่วมประชุมรับทราบมติ
ปี 1996 FMSCT เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมมอเตอร์ไซค์โลก FIM Congress ที่โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค สุขุมวิท 24 กรุงเทพ โดยได้รับอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์ครองราชย์ 60 ปี เป็นโลโก้งาน ทำให้เกิดการแข่งขันโรด เรซซิ่ง ระดับอาเซี่ยน และเอเชีย แปซิฟิค พร้อมๆ กับนักกีฬาของไทยที่แข่งขันสามารถสร้างชื่อเสียงหลายคน เช่น คุณณัฐวุฒิ เจริญสุขวัฒนะ คุณคริสมาส วิไลโรจน์ คุณอำนาจ สังข์สุวรรณ คุณ ดิเรก อาชาวงศ์ คุณสุหทัย แช่มทรัพย์ คุณเดชา ไกรศาสตร์ เป็นต้น
กติกาเทคนิคชิงแชมป์เอเชีย(ARRC) กำหนดโดย FMSCT , AAM , IMI และในปี 2550 บันทึกไว้ว่านักแข่งไทยชื่อ รัฐภาคย์ วิไลโรจน์ ได้เข้าร่วมการแข่งขันรถจักรยานยนต์ชิงแชมป์โลก Moto GP รุ่น 250 CC. เต็มฤดูกาล เป็นคนแรกของประเทศไทย
ปี 2013-2014 FMSCT จัดแข่งโมโตครอสชิงแชมป์โลก MXGP ที่นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง ศรีราชา
ปี 2015 FMSCT จัดแข่งโมโตครอสชิงแชมป์โลก ที่ นครชัยศรี
ปี 2016 FMSCT จัดแข่งโมโตครอสชิงแชมป์โลก ที่ สะกระโจม
ปี 2014-2015 ชิงแชมป์ซูเปอร์ไบค์ สนามช้าง บุรีรัมย์
ปี 2016 Moto GP ชิงแชมป์ระดับประเทศ ที่สนามช้าง บุรีรัมย์
ประวัติความเป็นมาของโลกกีฬามอเตอร์สปอร์ต
การแข่งขันประเภท โรดเรซซิ่ง ( Moto GP )
การแข่งขัน โรดเรซซิ่ง ถือเป็นการแข่งขันที่มีลีลาสวยงาม แต่แฝงไว้ด้วยชั้นเชิงและไหวพริบของผู้ขับขี่ การแข่งขันประเภทนี้จัดอยู่ในประเภทหนึ่งที่ทั่วโลกยอมรับ
การแข่งประเภทนี้มีมาตั้งแต่พ.ศ.2447 โดยเริ่มขึ้นแถวชานเมืองของกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในสมัยนั้นรถแข่งมีรูปร่างลักษณะคล้าย ๆ กับรถจักรยานสองล้อที่ถีบส่งน้ำแข็ง เครื่องยนต์เป็นแบบ 4 จังหวะ ซึ่งมีกำลังประมาณ 2-3 แรงม้า แต่ด้วยเทคนิคและวิวัฒนาการ รถแข่งจึงได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งในด้านเครื่องยนต์ เฟรมตัวถัง ระบบกันสะเทือน และระบบอากาศผงศาสตร์
การแข่งขันประเภท โมโตครอส ( MXGP )
ประวัติการแข่งขันโมโตครอส เริ่มในต้นศตวรรษที่ 20 ในประเทศอังกฤษ รู้จักกันครั้งแรกในชื่อ Srambles ซึ่งมีการแข่งขันผ่านเส้นทางทุรกันดาน ผู้ที่ผ่านเข้าเส้นชัยคนแรก คือ ผู้ชนะ
คำว่าโมโตครอส (Motocross) ได้เป็นที่รู้จักกันครั้งแรกในปี 2467 เป็นการแข่งขันที่ผนวกคำว่า มอเตอร์ไซค์ (Motorcycle) กัน คำว่า ข้ามประเทศ (Cross Country) เริ่มต้นทางที่ประเทศเบลเยี่ยม
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ประเทศต่างๆก็เริ่มแข่งขันระหว่างกัน เป็นต้นกำเนิดการแข่งขัน โมโตครอสแห่งชาติ (Motocross of Nations) ด้วยรถแข่งขนาด 500 cc. แข่ง ครั้งแรกจัดแข่ง ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ในปี 1947
ต้นศตรรษที่ 50 โมโตครอสเป็นกีฬาที่แพร่หลายในยุโรปจนเป็นที่มาของชิงแชมป์ยุโรปในปี 1952 และชิงแชมป์โลกในปัจจุบัน
การแข่งขันประเภทไทรอัล (Trial)
การแข่งชนิดนี้ได้เริ่มมีขึ้นเมื่อพ.ศ.2456 โดยได้มีการแข่งที่ประเทศอังกฤษเป็นครั้งแรก โดยถือเป็นการแข่งระดับนานาชาติ และเป็นรถประเทศ 4 จังหวะ เพราะได้รับผลสำเร็จก่อนรถประเภท 2 จังหวะ เป็นการแข่งขันเลี้ยงตัว (Balance) บนรถมอเตอร์ไซค์ที่ออกแบบพิเศษ
ในปี 1960 – จนถึงปัจจุบัน รถแข่งเป็นแบบเครื่องยนต์ 4 จังหวะ เมื่อมีการพัฒนาให้น้ำหนักรถแข่งน้อยลง ง่ายต่อการควบคุมรถแข่ง แรงบิดสูง ความเร็วต่ำ
ประเทศไทยเริ่มมีการแข่งขันไทรอัล หรือมอเตอร์ไซค์ไต่เขา ตั้งแต่ปี 2538 จัดโดย คุณสรกฤช โพธิทัตกุล ริเริ่มจัดขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่
การแข่งขัน Drag Racing
สปริ๊นท์ (Sprint) หรือที่เรียกอีกชื่อว่า แดรก เรซซิ่ง (Drag Racing) ในประเทศอังกฤษได้ก่อตั้งเป็นสมาคมเมื่อปีพ.ศ.2501 โดยใช้ชื่อว่า National Sprint Association โดยได้จัดแบ่งรุ่นของรถแข่งตั้งแต่ขนาด 125 ซี.ซี. ถึง 1,300 ซี.ซี.
การแข่งประเภทนี้จะใช้ระยะทางตรง 402 เมตร (Quater Mile) หรือ 210 เมตร (Quarter Kilo) พื้นผิวของทางวิ่งจะต้องเป็นพื้นเรียบ วิธีการแข่งคือปล่อยให้วิ่งทีละคู่ โดยผู้ที่ทำเวลาดีที่สุดเป็นผู้ชนะ
แดรก เรซซิ่ง (Drag Racing) ในประเทศไทยเริ่มมีการแข่งขันในปี 2530 โดยคุณไกรทส วงษ์สวรรค์ ได้จัดแข่งที่เป็นกิจจะลักษณะที่สนามแข่งรถไทยแลนด์เซอร์กิต นครชัยศรี โดยมีคุณศิริบูรณ์ เนาว์ถิ่นสุข เป็นผู้ร่วมกติกาการแข่งขัน
การแข่งขัน Enduro และ ISDE
การแข่งขันจักรยานยนต์วิบากประเภทเอ็นดูโร่นี้ เป็นการแข่งขันที่ใกล้เคียงกับการแข่งขัน MXGP/MX2 หรือโมโตครอส มากที่สุดก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางที่ต้องบุกป่า ฝ่าเขา บุกตะลุยทุกอย่างที่ขวางหน้า ไม่ว่าจะเป็นภูเขาหรือลำธาร แต่จุดแตกต่างก็คือ เอ็นดูโร่นั้นจะมีเส้นทางการแข่งขันที่ยาวไกลกว่า เครื่องยนต์ต้องปรับให้รอบต่ำกว่าเพื่อที่จะสามารถทำความเร็วได้ อีกทั้งยังมีไฟหน้าไปท้าย เพื่อที่ว่าบางทีอาจต้องแข่งจนถึงมืดเพราะระยะทางที่ไกลนั่นเองการแข่งขัน ISDE เอนดูโร่ 6 วัน เป็นรายการที่ยาวนาน ซึ่งมีนักแข่งไทยเคยเข้าร่วมแข่งขันปี 1993 คือนาย สาคร อยู่เย็น
Stay up-to-date with the latest news, events, and promotions from FMSCT - Federation of Motor Sports club of Thailand Sports Club. Sign up for our newsletter today and never miss out on any of the action. It's free and it only takes a minute.
"ธงชัยและเพื่อน" ปฐมบทโมโตครอสโลก
Thongchai & friends, the elementary chapter of ThaiMXGP
หลายคนไม่เคยได้ฟัง หลายคนลืมไปแล้ว แต่หลักหินกีฬาแข่งรถจักรยานยนต์ไทยไม่เคยลืมเพลงสำคัญนี้..
สุดเขตแดนไกล ท่องไปทุกแดนถิ่น
นักบิดทุกคนเคยได้ยิน ทีมงานไหน... ธงชัย และเพื่อน
ตากแดดแผดเผา บางคราวลุยฝนโคลนฝุ่น
สามัคคี คำจุน ทีมงานไหน... ธงชัย และเพื่อน
เราร่วมทุกสนุกสนานหลังจากงาน เราสร้างสรรค์ให้ “โมโตครอส” จงรุ่งเรือง
เพลงมาร์ช "ธงชัยและเพื่อน" เพลงปลุกใจทีมงานจัดแข่งโมโตครอสในยุคบุกเบิก ก่อนเป็นชมรมโมโตครอส, สมาพันธ์/สมาคมกีฬาแข่งรถจักรยานยนต์แห่งประเทศไทยในปัจจุบัน
ทีมงาน ธงชัยและเพื่อน เป็นหลักหิน (milestones) สำคัญของกีฬาโมโตครอสตั้งแต่การเริ่มต้นจัดแข่ง บางแสนโมโตครอส ในปี ค.ศ. 1978, โค๊ก-มาร์ควัน โมโตครอส, เวลลอย, จนมาถึงช่วงกลางของยุค คาสตรอล โมโตครอส ก่อนที่ ชมรมโมโตครอสจะเข้ามามีบทบาทสำคํญและเริ่มเป็นธุรกิจกีฬาอาชีพมากขึ้นตามลำดับในยุคกลางทศวรรต 1980's เป็นต้นมาจวบจนปัจจุบันนี้..
ในภาพนี้ขณะสังสรรค์ของเพื่อนๆ ธงชัย วงษ์สวรรค์ เมื่อเว้นว่างจากจัดแข่งโมโตครอสทั่วประเทศ ณ บ้านพักตากอากาศ แหลมแท่น, ศรีราชา ทีมงาน ธงชัย และเพื่นอ มากันบ่อยมากๆในยุคนั้น.. และไม่ได้กลับไปศรีราชาอีกกว่าหลายทศวรรตสิบปี และมีโอกาศกลับไปอำเภอศรีราชาอีกครั้งในปี ค.ศ. 2013 แต่ครั้งนี้จัดการแข่งขันโมโตครอสโลก ThaiMXGP ที่นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 3, ศรีราชา - ศรีราชาจึงเป็นอีกตำนานของหลักหินโมโตครอสที่สำคัญถึงสองช่วงเวลา.,. อดีตและปัจจุบัน
Federation of Motor Sport Clubs of Thailand (FMSCT
racing@fmscit-live.com
Copyright © 2024
FMSCT-Live.com - All Rights Reserved.
Website contributed by R2M Sport Asia, Ltd.